ประวัติความเป็นมา





วัดอุทัยธาราม (บางกะปิ) ตั้งอยู่เลขที่ ๒ ริมทางรถไฟสายตะวันออก หมู่ที่ ๕ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง จังหวัดกรุงเทพมหานครฯ  สังคณะสงฆ์มหานิกาย วัดนี้มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ ๓๑ ไร่ ๒ งาน ๘๕ ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือกว้าง ๑๘๙.๔๐ เมตร ติดกับที่ดินเอกชน ทิศใต้กว้าง ๒๓๐ เมตร ติดกับทางรถไฟสายตะวันออก ทิศตะวันออกกว้าง ๒๒๑ เมตร
ติดกับที่ดินของกรมธนารักษ์ (ที่ตั้งสถานีโทรทัศน์ แห่ง ประเทศไทย ช่อง ๑๑) ทิศตะวันตกกว้าง ๒๒๑ เมตรติดกับคลองบางกะปิ ที่ดินที่อยู่ตรงฝั่งตรงข้ามของวัด ซึ่งเป็นที่ดินของวัดได้จัดให้เป็นที่อยู่ตรงข้ามของวัด ซึ่งเป็นที่ดินของวัดได้จัดให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนประชาบาล ปัจจุบันนี้สังกัดอยู่กับ ส.ป.ช.
     พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงในฤดูฝน ตั้งอยู่ริมคลองบางกะปิ มีลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้าภายในวัดประกอบด้วยเสนานะสิ่งปลูกสร้างดังนี้ พระอุโบสถขนาดกว้าง ๑๕.๓๐ เมตร ยาว ๓๘.๐๐ เมตร วิหารซึ่งตั้งอยู่ติดกับพระอุโบสถอีกหนึ่งหลัง กุฎิสงฆ์จำนวน ๒๗ หลัง มีทั้งอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก และเป็นครึ่งตึกครึ่งไม้ และ อาคารไม้ หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานหล่อด้วยทองเหลืองหน้าตักกว้าง ๑.๕ เมตร สมัยสุโขทัย และพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนเนื้อสัมฤทธิ์หนึ่งองค์ หน้าตักกว้าง ๑ ศอก เป็นสมบัติของเก่าซึ่งหาประวัติการสร้างไม่ได้ว่าได้จัดทำขึ้นหรือสร้างในสมัยใด
     วัดอุทัยธาราม หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดบางกะปิ เพราะวัดนี้ตั้งอยู่ริมคลองบางกะปิ ท้องที่ตำบลบางกะปิ อำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนครในอดีต ซึ่งชาวบ้านมักนิยมเรียกกันอย่างนั้น
     วัดอุทัยธาราม (บางกะปิ) นี้ไม่ทราบหลักฐานในการสร้างวัดที่แน่ชัด เป็นแต่ท่านผู้ใหญ่ได้เล่าสืบต่อกันมาว่าซึ่งสันนิษฐานว่าคงเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง อาจจะสร้างขึ้นมาแต่ครั้งโบราณ และได้มีผู้บูรณะต่อตามที่ได้เล่ากันสืบมาว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ประมาณ พ.ศ. ๒๓๑๐ และต่อมาเนื่องจากกรุงศรีอยุธยาแตก แม่ทัพนายกองทั้งหลายได้อพยพหนีภัยสงครามลงมาด้วย และเมื่อผ่านลงมาพบเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของคลองบางกะปิ ซึ่งเป็นสถานที่สงบเงียบ จึงได้นำสมบัติมาฝังไว้ ณ ที่มีด้วยแล้วหนีต่อไป เมื่อบ้านเมืองสงบดีแล้วจึงได้กลับมาบูรณะ และสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นมาอีก โดยได้จัดสร้างพระเจดีย์ให้ใหญ่ขึ้น และได้นำเอาสมบัติมีค่า และวัตถุมงคลพร้อมทั้งพระบรมธาตุส่วนหนึ่งบรรจุไว้ในเจดีย์ แห่งนี้ และวัดนี้คงเจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น เพราะว่าท่านผู้ใหญ่เคยบอกว่าวัดนี้เคยมีพระสงฆ์มาชุมนุมอยู่มากมาย พร้อมทั้งยังมีปริวาสกรรมอยู่ในกลางทุ่งนานอกวัด และมีทางเดินเท้าติดต่อการคมนาคมปูด้วยอิฐทำไว้อย่างดีตลอดต่อไปถึงริมฝั่งคลองสามเสน ซึ่งในปัจจุบันนี้เส้นทางเหล่านี้แทบจะไม่มีเหลือให้เห็นอีกเลย ทั้งนี้เพราะความเจริญของเมืองหลวงได้ขยายตัวออกมามากขึ้น
     วันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๗ เวลาประมาณ ๑๑.๑๕ น. ซึ่งตรงกับวัน วิสาขบูชา วัดนี้ได้ถูกกระทบจากภัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งตรงลูกระเบิดทำให้องค์พระเจดีย์โค่นลง เพราะแรงสะเทือน และความเก่าแก่ขององค์พระเจดีย์ แม้ฝั่งที่ตั้งของวัดก็ถูกระเบิดกุฏิพระสงฆ์พังเสียหายลงอีกสองหลัง
     วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๘ ต่อมาได้มีการขุดค้นฐานซากพระเจดีย์ใหญ่ได้พบวัตถุโบราณต่างๆ เช่นพระเครื่องเนื้อชินสนิมแดง พระยอดธง พระโคนสมอ พระพุทธรูปบูชา และพระบรมธาตุ ซึ่งสมบัติต่างๆ นี้บางส่วนได้จัดจำหน่ายหารทุนสร้างเสนานะ บางส่วนก็ได้ขึ้นบัญชีไว้ และนำเก็บรักษา จากที่ได้พบกับวัตถุต่างๆ นี้ จึงน่าจะสันนิฐานไว้ว่าวัดนี้คงจะเป็นวัดพระยาอุทัยได้บูรณะหรือสร้างขึ้นจริงจึงได้นำเอานามว่า อุทัย นี้มาเป็นนามของวัด เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๘ ส่วนหลักฐานอื่นที่จะนำมายืนยัน ประวัติของวัดนี้ไม่มีบ่งชี้ให้แน่ชัด ทั้งหมดเป็นแต่เพียงข้อสันนิษฐานและคำบอกเล่าของท่านผู้ใหญ่เท่านั้น
     วัดนี้ได้รับการพัฒนาให้เป็นเหมือนใหม่ทั้งหมด ในสมัยเมื่อท่านพระครูปราโมทย์ธรรมคุณเป็นเจ้าอาวาสโดยได้จัดสร้างกุฏิสงฆ์ โบสถ์ วิหาร ไว้ให้เป็นสัดส่วนตามแบบของเดิม ซึ่งได้แบ่งเขตไว้เป็นเรียบร้อยดี โดยทิศเหนือสุดเป็นเขตอสุภะ ต่อลงมาเป็นเขตพุทธาวาส ธรรมาวาส และเขตสังฆาวาส อยู่ทิศใต้สุด
พ.ศ. ๒๔๘๐ วัดได้เปิดให้มีการสอนปริยัติธรรม โดยจัดสร้างโรงเรียนปริยัติธรรมไว้เป็นสัดส่วน
                  อยู่ทางทิศตะวันออก
พ.ศ. ๒๕๐๙ สร้างศาลา ๑
พ.ศ. ๒๕๑๔ รื้ออุโบสถ เพื่อที่จะสร้างทดแทนที่เดิม เหลือไว้เฉพาะ ฐานพระหลวงพ่อสุโข
พ.ศ. ๒๕๑๕ เมื่อสร้างพระอุโบสถ และวิหาร
พ.ศ. ๒๕๒๔ สร้างศาลา โพธิ์ปาน และศาลาธิดาอุทิศ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๔
                  เป็นอาคารทรงไทย ชั้นเดียวสร้างด้วยคอนกรีต อยู่ทางทิศเหนือของวัด 
                  ในเขตอสุภะ
พ.ศ. ๒๕๒๙ สร้างสำนักงาน ฌาปนสถานวัดอุทัยธาราม (บางกะปิ)
                  เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๙ เป็นอาคารทรงไทย ๒ ชั้น ชั้นบนทำด้วยไม้
                  ส่วนชั้นล่างเป็นคอนกรีต อยู่ทางทิศเหนือของวัดติดกับเมรุ
พ.ศ. ๒๕๓๑ ตัดลูกนิมิตรผูกพัทธสีมาหลังใหม่
พ.ศ. ๒๕๓๕ วัดได้เริ่มก่อนสร้างสะพาน และถนนเข้าวัดทางทิศตะวันออก
พ.ศ. ๒๕๓๖  ๑. สร้างศาลา น.ส. เทียน โตคร้าม ,นายพัว รอดเงิน ,นางทวน รอดเงิน
                   เป็นศาลาทรงไทยชั้นเดียวยกพื้นสูง อยู่ทางทิศตะวันออกของวัด ซึ่งต้องข้ามคูน้ำ
                   ๒. สร้างศาลา นายสำรวย นางอุบล แพรอด อุทิศให้ ด.ญ. เรียม แพรอด
                   เป็นศาลาทรงไทย ชั้นเดียวยกสูง อยู่ทางทิศตะวันออกของวัด ซึ่งต้องข้ามคูน้ำ
พ.ศ. ๒๕๓๗  ถมพื้นสนาม หน้าศาลการเปรียญ
พ.ศ. ๒๕๓๘   ๑. สร้างศาลคุณยายด่วน เปี่ยมวุฒิ โดยนายสุดใจ นางเสมอ เถื่อนทับ
                   พร้อมบุตร ธิดา เป็นผู้ออกทุนสร้าง เป็นศาลาทรงไทยชั้นเดียวยกพื้นสูง
                   อยู่ทางทิศตะวันออกของวัด ซึ่งต้องข้ามคูน้ำ
                              ๒. สร้างศาลาสงค์ปรางค์ ตาดชื่น เป็นผู้ออกทุนสร้าง แม่ป่วน (ตุ้) ตาดชื่น
                            นายไพฑูรย์ นางชด ตาดชื่น และน.ส. อักษรศี ตาดชื่น เป็นผู้ออกทุนสร้าง
                            เป็นศาลาทรงไทย ชั้นเดียวยกพื้นสูง อยู่ทางทิศตะวันออกของวัด ซึ่งต้องข้ามคูน้ำ
         พ.ศ. ๒๕๓๘  วางศิลาฤกษ์ พระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุโดยมีสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จ
                            พระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อยู่ทาง
                            ทิศตะวันออกของวัด และได้ปลูกต้นโพธิ์ ที่มาจากพระศรีมหาโพธิ์ 
                            จากประเทศศรีลังกา
พ.ศ. ๒๕๓๙ เริ่มก่อสร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ มีรูปทรงย่อมุม ๑๒ ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อ
                   ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นเวลา ๔ ปี เป็นเงิน ๒๘,๒๕๓,๐๖๘ บาท
พ.ศ. ๒๕๔๑  ก่อสร้างศาลาการเปรียญ ลักษณะทรงไทย ๒ ชั้น ชั้นล่างสูงโปร่ง ปูหินอ่อน
                   ทั้งหลังขนาดกว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๔๘ เมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖
                   เป็นเวลา ๕ ปี เป็นเงิน ๔๖,๒๘๑,๗๐๗ บาท โดยได้การรื้อศาลาการเปรียญ
                   หลังเก่า ลักษณะทรงไทย ๒ ชั้น ชั้นล่างสูงโปร่ง สร้างด้วยไม้สัก เสาข้างล่างเป็น
                   เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นเป็นดิน ด้านบนแบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ศาลา และครัว 
                   ส่วนศาลาอยู่ทางด้านทิศใต้ ส่วนครัวอยู่ทางด้านทิศเหนือ ครัวแบ่งเป็น ๒ ห้อง
                   หน้าห้องครัวมีชาน ก่อนเข้าตัวศาลาการเปรียญ ไว้จัดวางของถวายพระ 
                   หรือก็เป็น ที่นั่งรับของถวายอาหารบิณฑบาต ในวันพระเข้าพรรษา และวันสำคัญ
                   ทางศาสนาด้านล่างติดครัว เป็นที่หุงข้าว ถัดไปทางทิศตะวันออกเป็นห้องน้ำ 
                   และศาลาหลังคาปั้นหยาริมคลองบางกะปิ ซึ่งมีไว้ทำครัวเวลามีงานบุญ หรือเป็นที่
                   นั่งฟังธรรม ในวันพระเข้าพรรษา และวันสำคัญทางศาสนา
        พ.ศ. ๒๕๔๒   ก่อสร้าง กุฏิอาคารทรงไทย ๑ หมู่ ๕ หลัง ก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๕
                            เป็นเวลา ๓ ปี เป็นเงิน ๒๐,๒๖๘,๗๓๒ บาท โดยได้ทำการรื้อ กุฏิเจ้าอาวาสองค์
                            ก่อน (พระรูปราโมทย์ธรรมคุณ) ซึ่งเป็นกุฏิอาคารไม้ หลังคาปั้นหยา ๑ หมู่ ๔
                            หลัง ลักษณะ ๒ ชั้น ชั้นล่างสูงโปร่ง พื้นเป็นดิน และศาลาอเนกประสงค์ หน้ากุฏิ
                            เจ้าอาวาสองค์ก่อน และข้างศาลาการเปรียญ เป็นที่นั่งรับบิณฑบาต
                            และวันสำคัญทางศาสนา และในบางโอกาสก็เป็นโรงลิเก หรือตั้งโต๊ะอาหาร
    
         พ.ศ.๒๕๔๔   ๑. ก่อสร้างศาลา ปุ่นเอม ก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นเวลา ๑ ปี
                           เป็นเงิน ๖,๙๓๐,๐๐๐ บาท ซึ่งศาลาทรงไทยชั้นเดียวสูงโปร่ง ยกพื้นสูง ปูหินอ่อน 
                           ทั้งหลัง ก่อสร้างแทนศาลาอเนกประสงค์เดิม
                           ๒. สร้างสะพานข้าม  คลองบางกะปิ เข้าโรงเรียนวัดอุทัยธาราม (บางกะปิ)
       พ.ศ. ๒๕๔๕   ๑. ก่อสร้างศาลา ทรัพย์ เปรม ก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖ 
                          เป็นเวลา ๑ ปี เป็นเงิน ๖,๙๓๐,๐๐๐ บาท ซึ่งศาลาทรงไทยชั้นเดียวสูงโปร่งยกพื้น
                           ๒. ก่อสร้างหอระฆัง จำนวน ๒ หลัง หอระฆังแรกเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ปูหินอ่อน
                          ทั้งหลังอยู่ที่ทางเข้าตรงหน้าอุโบสถ หอระฆังที่ ๒ เป็นไม้สัก อยู่ที่ทางเข้าตรงหน้า
                          ศาลาการเปรียญรวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๕,๘๓๓,๕๐๐ บาท
                          ๓. ก่อสร้างห้องน้ำห้องสุขา จำนวน ๑๕ ห้อง โดยได้ทำการรื้อห้องเก่าที่อยู่ข้ามๆ
                          กุฎิการะเวก ออกก่อนแล้วปลูกสร้างใหม่ เป็นเงินจำนวน ๒,๖๐๐,๐๐๐ บาท
      พ.ศ. ๒๕๔๖   ก่อสร้างอาคารโรงครัว ๒ ชั้น เป็นอาคารหลังคาปั้นหยา บริเวณริมคลองบางกะปิติด
                          กับศาลาการเปรียญ
      พ.ศ. ๒๕๔๙  รื้อหอระฆังเก่า และทำการสร้างขึ้นใหม่ โดยทำการถอนเสาหอระฆัง ทั้ง ๔ ต้น 
                          เพื่อทำการซ่อมแซม มีเสา ๑ ต้นที่สั้นกว่าต้นอื่น ส่วนอาการแตกของเสา ได้ทำการ
                          ซ่อมแซมแล้วกลึงเสาใหม่รูปแบบหอระฆังใหม่ได้ถอดแบบมาจากหอเก่า สร้างเสร็จ 
                          เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐
      พ.ศ. ๒๕๕๑  บวงสรวงหลวงพ่อสุโข และอุโบสถเวลา ๐๙.๐๐ น. วันพฤหัสบดี่ ๓๑ มกราคม พ.ศ.
                          ๒๕๕๑ ตรงกับ แรม ๙ ค่ำ เดือน ๒ ปีชวด เพื่อที่จะทำการซ่อมแซมอุโบสถ โดยทำ
                          การรื้อหลังคาออกมา ๓ แผ่น เป็นประถม

   เจ้าอาวาส วัดนี้มีอาวาสเท่าที่ท่านผู้ใหญ่ได้เล่าให้ฟังเท่าที่จำได้ มีดังนี้คือ

      ๑. พระอุปัชฌาย์ทอง       ไม่ปรากฏประวัติ
   ๒. พระอธิการดี             ไม่ปรากฏประวัติ
    ๓. พระอธิการแดง          ประวัติไม่ชัดเจน
   ๔. พระโต (รักษาการ)   ไม่ปรากฏประวัติ
      ๕. เจ้าคณะหมวดอุย อินฺทโชติ (อุย ลิ่มจีน) 
ดำรงตำแหน่งถึง พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปีใดไม่มีหลักฐานยืนยัน เป็นเจ้าอาวาสอยู่จนถึงวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๔๘๘ (วันศุกร์ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ปีระกา) จึงมรณภาพ 
      ๖. พระครูปราโมทย์ธรรมคุณ (ชื่น อยู่เกิด) 
เป็นบุตรพ่อแหยม แม่คร้าม อยู่เกิด ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส
เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ถึง พ.ศ. ๒๕๓๐ รวม ๔๒ ปี 
        ๗. พระครูอุทัยปุญญาภิรักษ์(ยอด มหาปุญโญ)
เป็นบุตร พ่อหลั่ง แม่ปุก มั่งมี รักษาการเจ้าอาวาส เมื่อ วันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๓๐
รับตำแหน่งเจ้าอาวาส เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๓๐
และดำรงตำแหน่งมาจนถึงปัจจุบัน
ได้รับการแต่งตั้งสมณศักดิ์ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญ
เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในวันที่ 5 ธันวาคม ๒๕๕๐

พระครูอุทัยปุญญาภิรักษ์ (ยอด มหาปญฺโญ)
เจ้าอาวาสวัดอุทัยธาราม (บางกะปิ)
ได้รับการแต่งตั้งสมณศักดิ์ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญที่
" พระมงคลสุนทร "


ขอขอบคุณเว็บไซต์ ธรรมจักร